Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Skins

Powered by Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองในสมัยอยุธยา








อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็วในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่นอาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ไปจรดคาบสมุทรมลายูทางทิศใต้ แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรอยุธยาได้ประสบกับความเสื่อมถอย เนื่องมาจากการแย่งอำนาจทางการเมืองระหว่างเจ้านายและขุนนาง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้ามังระได้ส่งกองทัพเข้าปล้นสะดมกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ซึ่งในประวัติศาสตร์นับว่าเป็นการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ซึ่งซ้ำรอยเดิมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2112

















กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฏว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฏ กรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศอิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights) ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติหรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตอยู่ 3 ประการ คือ

1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ

2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ

3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว

ระบบเทวสิทธิ์นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์ การปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้าตามคติของฮินดู ราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ถูกปกครองอย่างแท้จริง สมบูรณาญาสิทธิราชถือกำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา" ลักษณะการปกครองสมัยโบราณนั้น มีเค้าเงื่อนปรากฏเป็นลักษณะการปกครอง 2 แบบ คือ
แบบหนึ่งเป็นแบบขอมเข้ามาครอบครองถิ่นฐานประเทศอยู่เดิม ขอมมีการปกครองตามคติที่ได้มาจากอินเดีย ส่วนไทยปกครองอย่างแบบไทยเดิม
ส่วนทางใต้ปกครองตามแบบขอมเพราะขอมยังมีอำนาจอยู่ในเมืองต่าง ๆ เช่น ละโว้และเมืองอื่น ทางใต้การปกครองของขอมและของไทยมีที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ถืออาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ ต่างก็มีพระมหากษัตริย์ด้วยกันทั้งสองแบบแต่ของขอมนั้นถือลัทธิตามชาวอินเดีย คือสมมุติพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ พระอิศวรหรือพระนารายณ์แบ่งภาคมาเลี้ยงโลกและอาศัยความเป็นเจ้าตำราการปกครองลักษณะการที่ขอมเข้าปกครองราษฎร จึงคล้ายกับนายปกครองบ่าว (Autocratic government) ส่วนการปกครองของไทยนั้น นับถือพระจ้าแผ่นดินเป็นบิดาของประชาชน วิธีการปกครองก็เอาลักษณะการปกครองของสกุลมาเป็นคติ และถือว่าบิดาเป็นผู้ปกครองครัวเรือน ต่อมาในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทรงได้ปรับปรุงระบอบการปกครองใหม่ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครองเรียกการปกครองแบบนี้ว่า การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นราชธานีและเมืองพระยามหานครตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าราชธานีมีวงเขตแคบลงทั้งนี้ก็ด้วยมีความประสงค์ให้หัวเมืองชั้นในติดต่อกับราชธานีได้โดยสะดวก ส่วนหัวเมืองชั้นนอกอันเป็นเมืองพระยามหานครนั้นอยู่ห่างไกลออกไปจากราชธานี เมื่อการคมนาคมยังไม่เจริญ ก็ย่อมติดต่อกับราชธานีได้โดยมากราชการบริหารส่วนกลางไม่สามารถควบคุมดูแลได้อย่างใกล้ชิด เมืองพระยามหานคร จึงเกือบไม่ขึ้นต่อราชการบริหารส่วนกลางเลย เจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองเหล่านั้นเป็นผู้แทนพระมหากษัตริย์และได้รับการมอบหมายให้ใช้อำนาจแทนพระมหากษัตริย์ ทั้งในทางการปกครอง และในทางตุลาการ เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแล้วก็มีอำนาจที่จะปกครองเมืองได้อย่างเต็มที่ เกือบไม่ต้องขึ้นหรือคอยรับคำสั่งจากราชธานีด้วยเหตุนี้เมื่อพระมหากษัตริย์ใดทรงมีอานุภาพก็รักษาเอกภาพแห่งพระราชอาณาจักรไว้ได้อย่างเรียบร้อย แต่ถ้าพระมหากษัตริย์องค์ใดหย่อนอานุภาพลง เจ้าเมืองมักจะคิดตั้งตนเป็นอิสระทำให้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรไม่มั่นคง เหตุดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากราชการส่วนกลาง และราชการปกครองส่วนภูมิภาคไม่มีความสัมพันธ์กันเพียงพอ








รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งได้ทรงปรับปรุงรูปแบบการปกครองขึ้นใหม่ โดยแยกการบริหารราชการออกเป็นฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร สำหรับฝ่ายพลเรือนรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทางด้านเวียง วัง คลัง นา มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนกิจการเกี่ยวกับทหารและการป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้าและกรมทหารราบ มีสมุหกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จึงมีความสำคัญยิ่งต่ออนาคตของการจัดการปกครองประเทศการปกครองได้เป็นไปในทางเสริมสร้างสมบูรณาญาสิทธิราชเต็มที่ เพราะได้พวกพราหมณ์และพวกเจ้านาย ท้าวพระยามาจากกรุงกัมพูชา ซึ่งมีความชำนาญทางการปกครองอย่างถ้วนถี่ดีกว่าที่เคยรู้มาแต่ก่อนไว้ ดังนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันแห่งพระองค์ ก็คงจะต้องเข้มงวดกวดขันยิ่งกว่าแต่กาลก่อน คือถือว่าเป็นสมมติเทวราชเต็มรูปแบบสำหรับการปรับปรุงแก้ไขการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค อันเป็นผลของการปฏิรูปดังกล่าวนั้นก็คือได้มีการขยายเขตราชธานี และหัวเมืองชั้นในออกไปให้กว้างกว่าเดิม เพื่อที่จะได้รวมอำนาจการปกครองเข้าไว้ในส่วนกลางให้ราชการบริหารส่วนกลาง สามารถควบคุมส่วนภูมิภาคได้ดียิ่งขึ้นและจัดหัวเมืองชั้นในอยู่ในวงของราชธานีเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา ส่วนหัวเมืองชั้นในพระมหากษัตริย์ทรงอำนวยการปกครองโดยมีเสนาบดีเป็นผู้ช่วย ฉะนั้นผู้ปกครองหัวเมืองชั้นในหรือเมืองชั้นจัตวาจึงเรียกว่า "ผู้รั้ง"ไม่ใช่เจ้าเมืองและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งชั่วเวลา 3 ปี ส่วนกรมการอันเป็นพนักงานปกครองก็ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของเจ้ากระทรวงต่างๆ ในราชธานี ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคปลีกย่อยออกไปอีก ซึ่งได้แก่การจัดระเบียบการปกครองภายในเมืองหนึ่งๆทั้งหัวเมืองชั้นนอกและชั้นใน หรือเรียกว่า ระเบียบการปกครองท้องที่ โดยแบ่งเมืองออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล ตำบล แบ่งออกเป็นบ้าน ซึ่งเป็นที่รวมของหลาย ๆ ครัวเรือนแต่มิได้กำหนดจำนวนคน หรือจำนวนบ้านไว้การแบ่งเขตการปกครองตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีรูปร่างผิดแปลกไปกับการปกครองสมัยปัจจุบันมาก นักกฎหมายปกครองท้องที่ตราขึ้น ในสมัยหลังได้ร่างขึ้นโดยอาศัยรูปการปกครอง ซึ่งมีอยู่แต่เดิมเป็นหลักใหญ่และได้แก้ไขดัดแปลงบ้างเล็กน้อยเท่านั้น

การปกครองระบบเทวสิทธิ์นี้ ถ้าจะพิจารณาถึงผลสะท้อนที่เกิดกับการบริหารแล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศไทยในสมัยนั้น เมื่อมีการสถาปนาประเทศเข้าสู่เสถียรภาพ ข้อเสียของระบบเทวสิทธิ์ก็ปรากฏขึ้นเช่นชนฝ่ายปกครองหรือกษัตริย์ถูกแยกห่างออกจากฝ่ายถูกปกครองคือประชาชนมากเกินไปจนกลายเป็นชนชั้นหนึ่งอีกต่างหาก ซึ่งแตกต่างจากการปกครองระบบบิดาและบุตรมาก ประกอบกับชนชั้นปกครองระดับรองลงมา อันได้แก่ มูลนายต่าง ๆ ช่องทางการใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขต เกิดการกดขี่ทารุณและคดโกงขึ้น ตำแหน่งพระมหากษัตริย์กลายเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจและอภิสิทธิ์ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งพึงปรารถนาในทางโลก ผู้ใดยึดครองตำแหน่งย่อมได้มาทั้งอำนาจและอภิสิทธิ์ต่างๆ ดุจเทพเจ้า
ฉะนั้นตลอดระยะเวลาอันยาวนานของการปกครองใต้ระบบเทวสิทธิ์ ได้มีการช่วงชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งทำให้เป็นมูลเหตุไปสู่ความอ่อนแอ และต้องสูญเสียเอกราชให้แก่ข้าศึกไปถึงสองครั้งสองครา ซึ่งประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาจะยืนยันข้อความจริงดังกล่าวได้ดี เหตุการณ์เช่นนี้มิได้มีปรากฏในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือการปกครองระบบบิดากับบุตร เพราะตำแหน่งกษัตริย์เป็นเพียงเสมือนตำแหน่งหัวหน้าครอบครัวเท่านั้น เมื่อคนที่ได้เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสิ้นไป คนใหม่ที่มีอาวุโสรองลงไปจะเข้ารับหน้าที่แทน มิได้ถือว่าเป็นตำแหน่งพิเศษเปี่ยมด้วยอภิสิทธิ์ดังระบบเทวสิทธิ์




วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาเขต
ทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็นและภูเขาพนมดงรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดีทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไทโดยทำ สงครามปราชัยแก่พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981 ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย
แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นและการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
1.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นเมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบนายปกครองบ่าวเมื่อสถาปนากรุงสุโขทัย ขึ้นใหม่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบบิดาปกครองบุตรหรือพ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ 1.1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำราจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย 1.2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมากจึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือพ่อจึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่าพ่อขุน 1.3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้นๆเริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้านมีพ่อบ้านเป็นผู้ปกครองหลายบ้านรวมกันเป็นเมืองมีพ่อเมืองเป็นผู้ปกครองหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศมีพ่อขุนเป็นผู้ปกครอง 1.4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง 1.5.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลายการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลงเนื่องจากสถาบันพระมหากษะตริย์ไม่มั้นคงเกิดความรำส่ำระสายเมืองต่างๆแยกตัวเป็นอิสระพระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบายทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ ราษฏรเพื่อให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสร้างความสามัคคีในบ้านเมือง
ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบธรรมราชาดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรกและพระมหากษัตริย์องค์ ต่อมาทรงพระนามว่า"พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์"
การปกครองสมัยสุโขทัย
การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3ลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัยการปกครองลักษณะนี้พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตรการปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตยลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและต้องเผยแพร่ธรรมะสู่ประชาชนด้วยการปกครอง แบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือเตภูมิกถา(ไตรภูมิพระร่วง)ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย 3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพเป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น
การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น
1. เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์พระราชวังและวัดจำนวนมากตั้งอยู่ในและนอกกำแพงเมืองราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครองการศาสนาวัฒนธรรมศิลปะและขนบประเพณีพระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง 2. เมืองลูกหลวงเป็นเมืองหน้าด่านตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า ประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงส์ได้รับแการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย 1. การเปลี่ยนแปลงการปกครองสุโขทัยสมัยแรกๆปกครองแบบพ่อปกครองลูกและได้เปลี่ยนเป็นสมมติเทพในสมัยพญาเลอไทซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของ พระมหากษัตริย ์กับประชาชนห่างเหินกันมากขึ้น ความสัมพันธ์แบบเครือญาติหมดไปพระมหากษัตริย์ต้องปกครองประเทศโดยลำพังทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่ายถ้าพระมหากษัตริย์อ่อนแอ 2. การกระจายอำนาจในการปกครองการปกครองแบบนี้ทำให้หัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นอิสระได้ง่าย เพราะมีอิทธิพลในการปกครองตนเอง 3. การแตกแยกในราชวงศ์สาเหตุนี้ทำให้บ้านเมืองทรุดโทรมและสูญเสียกำลังมากเพราะการฆ่าฟันกัน 4. การสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งเกิดจากการสถาปนากรุงศรีอยุธยาที่มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งมากกว่า
การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยสถาปนาขึ้นประมาณตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาดังนี้ 1. การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรขอม อาณาจักรขอมเคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ตอนล่าง มีเมืองนครธม(พระนครหลวง) เป็นเมืองหลวง ในประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และแผ่อิทธิพลเข้ามายังบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วย ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( พ. ศ. 1724 – 1761) อาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองมาก หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาอ่อนแอ ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้ อาณาจักรขอมจึงเสื่อมอำนาจลงเรื่อย ๆ จึงเปิดโอกาสให้ชนชาติอื่นที่อาศัยในบริเวณนั้นตั้งตัวเป็นอิสระ อย่างเช่นชนชาติไทยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา 2. ความสามารถของผู้นำชาวไทย ในตอนหลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขอมที่มีศูนย์กลางการปกครองที่สุโขทัย เมืองของคนไทยอยู่ภายใต้การปกครองของขอม ได้แก่เมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางยาง เมืองราก ได้รวมตัวกันอย่างมั่นคงและมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่แน่นแฟ้น เมื่อขอมเสื่อมอำนาจจึงร่วมมือกันขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกจากสุโขทัยได้เป็นอาณาจักรของคนไทยได้สำเร็จ

พระมหากษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัย
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย เป็นกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงมีจำนวน 9 พระองค์ ดังนี้ พระนาม ปีที่ขึ้นครองราชย์ ปีที่สิ้นสุดรัชสมัย 1.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ.ศ. 1792 ไม่ปรากฎ 2.พ่อขุนบานเมือง ไม่ปรากฏ พ.ศ. 1822 3.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ.1822 พ.ศ. 1841 4.พระยาเลอไท พ.ศ.1841 ไม่ปรากฎ 5.พระยางั่วนำถม ไม่ปรากฎ พ.ศ.1890 6.พระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไท) พ.ศ. 1890 ระหว่าง พ.ศ. 1911-1916 7.พระมหาธรรมราชาที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 1911-1916 พ.ศ. 1942 8.พระมหาธรรมราชาที่ 3(ไสลือไท) พ.ศ.1943 พ.ศ.1962 9.พระมหาธรรมราชาที่ 4(บรมปาล) พ.ศ.1962 พ.ศ.1981