Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Skins

Powered by Blogger

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553


ประวัติการปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์




รูป แบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัย กรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัยพระ เจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อนวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้ หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา เมืองขึ้นของชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือ พระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญใน อนาคตอย่างถูกต้อง จึงได้ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็น สำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปีพ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญ รุ่งเรืองนานัปมาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ การปกครองดังกล่าวต่อไป
มูลเหตุของการปรับปรุงการปกครอง
เนื่อง จากในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์บ้านเมืองได้ผันแปรแตกต่างกว่าเดิมเป็นอันมาก ทั้งความเจริญของบ้านเมืองก็เป็นเหตุให้ข้าราชการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น ลำดับลักษณะการปกครองที่ใช้มาแต่เดิมนั้นย่อมพ้นความต้องการตามสมัยสมควรที่ จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "..การปกครองบ้านเมืองของเราซึ่งเป็นไปในปัจจุบันนี้ ยังไม่เป็นวิธีการปกครองที่จะให้การทั้งปวง เป็นไปโดยสะดวกได้แต่เดิมมาแล้วครั้นเมื่อล่วงมาถึงปัจจุบันบ้านเมืองยิ่ง เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่าการปกครองอย่างเก่านั้นก็ยิ่งไม่สมกับความต้อง การของบ้านเมืองหนักขึ้นทุกทีจึงได้มีความประสงค์อันยิ่งใหญ่ ที่จะแก้ไขธรรมเนียมการปกครองให้สมกับเวลาที่เป็นการเจริญแก่บ้าน เมือง......"ประกอบด้วยในรัชกาลของพระองค์นั้นเป็นระยะเวลาที่ลัทธิ จักรวรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมาทางตะวันออกไกล ด้วยนโยบาย Colonial agrandisement ประเทศมหาอำนาจตะวันตกเช่นอังกฤษและฝรั่งเศสได้ประเทศข้างเคียงรอบๆ ไทยเป็นเมืองขึ้น และทั้งสองประเทศยังมุ่งแสวงหาผลประโยน์จากประเทศไทยดังเช่นทีี่่ฝรั่งเศส ได้ถือโอกาสที่ไทยยังไม่มีระบบการปกครองที่ดี และรักษาอาณาเขตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้อ้างวิธีการสำรวจทางวิชาการซึ่งเรียกว่า "Scientific expedition" เป็นเครื่องมือโดยอาศัยปัญหาเรื่องชายแดนเป็นเหตุ กล่าวคือ เมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนญวน แล้วได้ตั้งเจ้าหน้าที่ของตนออกเดินสำรวจพลเมืองและเขตแดนว่ามีอาณาเขตแน่ นอนเพียงใด และเนื่องจากเขตแดนระหว่างประเทศไทยมิได้กำหนดไว้อย่างแน่นนอนรัดกุม จึงเป็นการง่ายที่พวกสำรวจเหล่านั้นจะได้ถือโอกาสผนวกดินแดนของไทยเข้าไปกับ ฝ่ายตนมากขึ้นทุกที ด้วยเหตุดังกล่าวประเทศไทย จึงจำเป็นต้องปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเหตุดัง กล่าว
มูล เหตุอีกประการหนึ่งของการปรับปรุงการปกครองก็คือ พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะยกเลิกขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นการกดขี่กันหรือก่อให้เกิดความ อยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรซึ่งมีอยู่นั้นเสีย ขนบธรรมเนียมดังกล่าวได้แก่การมีทาสการใช้จารีตนครบาลในการพิจารณาความพระ ราชประสงค์ของพระองค์ในเรื่องนี้ ปรากฏในพระราชปรารภว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความปรารถนาว่าการสิ่งไรซึ่งเป็นการเจริญมีคุณแก่ราษฎรควรจะเป็น ไปทีละเล็กทีละน้อยตามกาลเวลา การสิ่งไรที่เป็นธรรมเนียมบ้านเมืองมาแต่โบราณแต่ไม่เป็นยุติธรรมก็อยากจะ เลิกถอนเสีย"
นอก จากนี้พระราชประสงค์ของพระบาทสทเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในอันที่จะทรง นำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการปกครองประเทศ เช่น ได้ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Councilof state)ประกอบด้วยเหล่าสมาชิกตั้งแต่ 10 - 20 นาย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประธานสภาและได้ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy council)ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกสุดแต่พระประสงค์ซึ่งต่อมาใน ปีร.ศ.113 ได้ทรงยกเลิกสภาที่ปรึกษาและจัดตั้งคณะรัฐมนตรีสภาขึ้นแทน อันประกอบด้วยเสนาบดีหรือผู้แทนทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่า 12 คน อนึ่งการเริ่มให้มีการปกครองท้องถิ่นก็เป็นมูลเหตุสำคัญกับผู้ที่ประการ หนึ่งที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยของพระองค์
เนื่อง จากในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีฝรั่งชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรีกับประเทศไทย หนังสือสัญญาที่ทำขึ้นนั้นได้ยอมให้ฝรั่งมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ ยอมให้ฝรั่งตั้งศาลขึ้นเรียกว่าศาลกงศุลขึ้นพิจารณาความของคนในบังคับของตน ได้อันเป็นการไม่ยอมอยู่ใต้บังคับบัญชาของกฏหมายไทย ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าฝรั่งถือว่ากฏหมายและวิธีพิจารณาความของประเทศไทยยัง ไม่มีระเบียบแบบแผนดีพอการที่ฝรั่งต่างประเทศมีศาลกงศุลพิจารณาความของคนใน บังคับของตนนั้นทำให้ประเทศไทย มีความยุ่งยากทางการปกครองเกิดขึ้นเสมอ จึงทรงมีพระราชประสงค์จะปรับปรุงการศาลยุติธรรมและกฏหมายของประเทศให้เป็น ระเบียบเรียบร้อยและเป็นที่เชื่อถือแก่ต่างประเทศเพื่อขจัดความยุ่งยากอันเกิดจากสิทธิสภาพนอกอาณาเขต จึงได้มีการปรับปรุงด้านตุลาการครั้งใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย
นอก จากนี้มีผู้รู้ คือ วรเดช จันทรศร ได้สรุปถึงปัญหาที่สยามประเทศเผชิญอยู่ในขณะนั้นที่เป็นเงื่อนไขความจำเป็น ที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่รวม 7 ประการ ได้แก่
1. ปัญหาความล้าหลังของระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่มีรูปแบบของการจัดที่ทำ ให้เอกภาพของชาติตั้งอยู่บนรากฐานที่ไม่มั่นคงระบบบริหารล้าสมัยขาด ประสิทธิภาพมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนและสับสนการควบคุมและการรวมอำนาจเข้าสู่ ศูนย์กลางไม่สามารถทำได้ทำให้ความมั่นคงของประเทศอยู่ในอันตรายและยังเปิด โอกาสให้จักรรดิ์นิมยตะวันตกสามารถเข้าแทรกแซงได้โดยง่าย
2. ระบบบริหารการจัดเก็บภาษีอากรและการคลังของสมายประเทศ มิได้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาปรับปรุงบ้านเมืองและเสริมสร้างพระราชอำนาจให้ แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เนื่องจากขาดหน่วยงานกลางที่จะควบคุมดูแลการจัดเก็บ รักษาและใช้เงินรายได้แผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของเจ้าพนักงานขุนนางผู้ดูแลการจัดเก็บภาษีรัฐ และเจ้าภาษีนายอากร ให้อยู่ในระเบียบกฏเกณฑ์ได้
3. การควบคุมกำลังคนในระบบไพร่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ไพร่เป็นฐานอำนาจทางการ เมือง เพื่อล้มล้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เกิดความไม่มั่นคงต่อพระราชบัลลังก์ เกิดการขาดเอกภาพในชาติทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความล้าหลังไพร่ไม่ สามารถสะสมทางเศรษฐกิจทั้งนี้ เพราะผลเนื่องมาจากการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวงของมูลนาย ยังเป็นการทำลายผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ และเกิดความเสียหายต่อสยามโดยรวม
4. ปัญหาการมีทาส ก่อให้เกิดการกดขี่และความไม่เป็นธรรมในสังคมเป็นเครื่องชี้ความป่าเถื่อน ล้าหลังของบ้านเมืองที่มีอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศต่าง ชาติอาจใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ามาแทรกแซงของลัทธิล่าอาณานิคมที่จะสร้างความ ศิวิไลซ์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในชาติด้อยพัฒนาในแง่เศรษฐกิจระบบ ทาสของสยามเป็นระบบใช้แรงงานที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและ เป็นอุปสรรคต่อการเป็นการพัฒนาคุณภาพกำลังคนในชาติ
5. ระบบทหารของสยามประเทศเป็นระบบที่ไม่สามารถป้องกันผลประโยชน์ และเกียรติของชาติไว้ได้เป็นระบบที่ยึดถือแรงงานของไพร่เป็นหลักในการ ป้องกันพระราชอาณาจักรทำให้การควบคุมประชาชนในประเทศถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ทำให้สถานภาพของพระมหากษัตริย์และเอกภาพของชาติตั้งอยู่บนฐานที่ไม่มั่นคง ทำให้กองทัพขาดเอกภาพขาดระเบียบวินัยอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมรบไม่อำนวยให้ เกิดการฝึกหัดที่ดีและการเรียกระดมเข้าประจำกองทัพล่าช้าทำให้ไม่ทราบจำนวน ไพร่พลที่แน่นอน
6. ปัญหาข้อบกพร่องของระบบกฏหมาย และการศาลที่ล้าสมัยแตกต่างจากอารยะประเทศไม่เป็นหลักประกันความยุติธรรมให้ กับคนในชาติและชาวต่างชาติบทลงโทษรุนแรงทารุณการพิจารณา ล่าช้าคดีคั่งค้างไม่สามารถรองรับความเจริญทางการค้าพาณิชย์และสภาพสังคม ได้มีหน่วยงานในการพิจารณาคดีมากเกินไปเกิดความล่าช้าสังกัดของศาลแยกไปอยู่ หลายกรมเกิดความล่าช้าและไม่ยุติธรรมระบบการรับสินบนฝังรากลึกมาแต่ในอดีต ปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้สยามถูกกดดันทำให้เกิดความยากลำบากในการปกครองและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
7. ปัญหาด้านการศึกษาสยามประเทศก่อนปฏิรูปยังไม่มีระบบการศึกษาสมัยใหม่ไม่มี หน่วยงานที่จะรับผิดชอบในการจัดการศึกษาโดยตรงการศึกษาจำกัดอยู่เฉพาะ ราชวงศ์ขุนนางชั้นสูงเกิดความไม่ยุติธรรม ทำให้โอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ลางเลือน ประเทศขาดคนที่มีคุณภาพเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศขาดพลังที่จะช่วยรักษา บ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยอีกทั้งยังทำให้ต่างชาติดูถูกสยามประเทศว่ามี ความป่าเถื่อน ล้าหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น