Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Skins

Powered by Blogger

หน่วยที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3


กฎหมายทะเบียนราษฎร




               กฎหมายทะเบียนราษฎร เป็นกฎหมายลักษณะหนึ่งที่สำคัญต่อความ

เป็นปึกแผ่นของประเทศแต่ไม่ได้รับการพัฒนาในคณะนิติศาสตร์ ก็คือกฎหมาย

ทะเบียนราษฎร ไม่มีชื่อวิชากฎหมายทะเบียนราษฎรเรื่องราวของกฎหมายนี้อาจ

จะได้รับการกล่าวบ้างในวิชากฎหมายปกครองหรือวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญหรือ

กฎหมายระหว่างประเทศทำให้เกิดปัญหาคือจะไม่มีนักกฎหมายที่เชียวชาญเรื่อง

นี้เลยแต่ละกรณีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทะเบียนราษฎร จะใช้เวลาในการพิจารณามากและแนวคิดทางกฎหมาย

ทะเบียนราษฎรก็จะไม่เป็นเอกภาพก็เป็นผลมาจากการที่ไม่มีวิชา ก็ไม่มีผู้เชี่ยวชาญและไม่มีงานวิจัยการพัฒนา

กฎหมายทะเบียนราษฎรก็ไม่เกิดขึ้นนั่นเอง

กฎหมายทะเบียนราษฎร หมายถึง กฎหมายที่ว่าด้วยงานทะเบียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับราษฎร อันได้แก่

การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การแจ้งการย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน รวมถึงการสำรวจ ตรวจสอบหรือ

ปรับปรุงการทะเบียนราษฎร และการจัดทำทะเบียนประวัติราษฎร

เดิมมีพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 แต่ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย

โดยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 การแก้ไขกฎหมายทะเบียนราษฎร

ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมประสิทธิภาพให้กฎหมายสามารถจัดการปัญหาคนไร้รัฐในประเทศไทยให้ดีขึ้น



ในพระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับนี้กำหนดวิธีการก่อตั้งพรรคไว้ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ 500 คนขึ้นไปหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป มีสิทธิขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองต่อกระทรวงมหาดไทย พรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งแล้วมีสิทธิตามกฎหมายที่จะดำเนินกิจการทางการเมืองและกิจการอื่นๆ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของพรรค ทั้งยังมีสิทธิรับเงินบำรุงจากสมาชิกหรือรับบริจาคจากผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งมีสถานที่ทำการของตนเอง ในส่วนของสถานะของพรรคการเมืองนั้น กฎหมายมิได้กำหนดให้พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคล แต่ก็สามารถเป็นโจทย์หรือจำเลยทางแพ่งในศาลได้ในนามของพรรคการเมืองเองโดยมีหัวหน้าพรรคเป็นผู้ดำเนินการแทน ส่วนอำนาจในการเพิกถอนการจดทะเบียนพรรคการเมืองซึ่งทำให้พรรคการเมืองต้องสิ้นสภาพลงนั้นเป็นอำนาจของศาล



สาระสำคัญของพระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับนี้ คล้ายคลึงกับพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 อยู่มาก จะมีแตกต่างกันไปก็ตรงรายละเอียดปลีกย่อย เช่น การเพิ่มจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองชุดเริ่มจัดตั้งก่อนขอจดทะเบียนต้องมีไม่น้อยกว่า 1,000 คน (มาตรา 7) และพรรคการเมืองไม่ต้องถูกยุบเลิกพรรคแม้สมาชิกไม่ได้รับเลือกตั้งเลยก็ตาม





เนื่องจากกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญต้องการส่งเสริมให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ขึ้นและลดจำนวนพรรคขนาดเล็กลง พระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับนี้จึงกำหนดเงื่อนไขในการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ให้ยากขึ้นกว่าพระราชบัญญัติฉบับก่อนๆ โดยการเพิ่มจำนวนสมาชิกจัดตั้งก่อนขอจดทะเบียนเป็น 5,000 คนและในจำนวนสมาชิก 5,000 คนนั้นต้องประกอบด้วยสมาชิกจากภาคต่างๆ ภาคละ 5 จังหวัดและมีจำนวนสมาชิกในแต่ละจังหวัดจังหวัดละไม่น้อยกว่า 50 คน ทั้งยังวางหลักเกณฑ์ในการตั้งสาขาพรรคให้ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 100 คน ขึ้นไป นอกจากนี้ยังกำหนดให้พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปอย่างน้อย 120 คนและต่อมาแก้ไขเป็นจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่พึงมี (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2538)มิฉะนั้นจะต้องถูกยุบเลิกพรรค



เนื่องจากพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524ได้เพิ่มบทบัญญัติที่เน้นการสร้างรูปแบบของพรรคการเมืองในลักษณะที่เป็นจักรกลมากขึ้น โดยหวังจะให้พรรคการเมืองมีความเป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง เติบโตเป็นพรรคขนาดใหญ่และมีจำนวนลดน้อยลงด้วยการนำเครื่องมือทางเศรษฐกิจมาใช้บังคับทางอ้อม เช่นการบังคับให้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งคราวละไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน ส.ส. ที่พึงมีซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก การขยายจำนวนสมาชิกเป็น 5,000 คนเป็นอย่างน้อย การตั้งสาขาพรรคต้องมีสมาชิก 100 คนขึ้นไป รวมทั้งการยุบเลิกพรรคหากสมาชิกไม่ได้รับเลือกตั้ง ประกอบกับรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. ด้วย เหล่านี้จึงส่งผลให้บรรดาพรรคการเมืองทั้งหลายให้ความสำคัญกับชัยชนะหรือจำนวน ส.ส. ที่ได้จากการเลือกตั้งมากเป็นอันดับสูงสุด ทำให้มีการซื้อตัว แย่งตัวและการย้ายพรรคของ ส.ส. มีการเสนอระบบโควตามาใช้เพื่อจัดสรรตำแหน่งทางการเมือง ในการเลือกตั้งมีการทุ่มเงินซื้อเสียงและมีการจัดสูตรรัฐบาลผสมรูปแบบต่างๆ ระหว่างพรรคการเมืองเพื่อแยกฝ่าย ช่วงชิงการเป็นแกนนำจัดตั้งหรือร่วมเป็นรัฐบาล ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างพรรคการเมืองถูกกำหนดโดยสูตรของการจัดรัฐบาลผสมและความหวังของการเข้าร่วมรัฐบาล เมื่อมีการปรับเปลี่ยนสูตรของรัฐบาลผสม รวมทั้งส่งผลให้พรรคทางเลือก (potential party) มีบทบาทความสำคัญมากขึ้น ในฐานะที่เป็นตัวแปรในการอยู่รอดของรัฐบาล หรือในทางกลับกันพรรคร่วมรัฐบาลที่ไม่มีฐานะอำนาจเป็นตัวแปรก็อาจตกเป็นเบี้ยล่างของพรรคแกนนำ กรณีความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เบี่ยงเบนมากที่สุดคือ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลที่เน้นกลยุทธ์ตีให้แตก เพื่อจัดสูตรผสมรัฐบาลเสียใหม่เมื่อเห็นว่าพรรคของตนมีศักยภาพเข้าแทนที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุผลและข้อเท็จจริงในทางการเมือง ส่งผลให้การตรวจสอบทางการเมืองของฝ่ายค้านที่มีต่อฝ่ายรัฐบาลนั้นไม่ได้วางอยู่บนพื้นฐานของหลักการตรวจสอบถ่วงดุล (Check & Balance) อย่างแท้จริง หากแต่เป็นกลยุทธ์เพื่อการแย่งชิงอำนาจระหว่างพรรคการเมืองด้วยกันเองเท่านั้น (เชาวนะ ไตรมาศ, 2540 :หน้า 40-41)