Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Skins

Powered by Blogger

หน่วยที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2



ลักษณะของกฎหมาย

กฎหมายแพ่ง จะว่าด้วย สิทธิ หน้าที่ และ ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน

กฎหมายอาญา จะว่าด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ที่มีการบัญญัติความผิดที่ห้ามกระทำไว้ โดยส่วนใหญ่ต้องรับโทษในฐานความผิดที่ได้กระทำนั้น

วัตถุประสงค์ของกฎหมาย

กฎหมายแพ่ง จะรักษาความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน หรือ ระหว่างรัฐกับเอกชนในกรณีที่รัฐมีสิทธิในฐานะเอกชน

กฎหมายอาญา มีไว้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ผู้ใดละเมิดกฎหมายอาญา ถือได้ว่าละเมิดต่อรัฐโดยตรง

การตีความกฎหมาย

กฎหมายแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่าการตีความกฎหมายย่อมต้องตีความตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายถ้าหากไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น – ซึ่งหมายถึง ถ้าไม่มีกฎหมายใดๆที่บัญญัติไว้ สามารถใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาวินิจฉัยตามประเพณีท้องถิ่น หรือ ที่ได้ทำสืบต่อกันมาได้

กฎหมายอาญา จะต้องตีความอย่างเคร่งครัด ตามตัวอักษรที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ ไม่สามารถขยายความไปถึงฐานความผิดที่เทียบเคียงกันได้ โดย กฎหมายอาญา ไม่มีผลย้อนหลัง และ จะไม่มีความผิด ถ้ากฎหมายไม่ได้บัญญัติความผิดไว้ ไม่มีโทษ ถ้ากฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษไว้

สภาพบังคับ

กฎหมายแพ่ง ถ้ามีการล่วงละเมิดทางแพ่ง จะต้องชดใช้คืนเจ้าหนี้ หรือถ้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือไม่สามารถใช้หนี้ได้ ศาลอาจจะสั่งยึดทรัพย์ขายทอดตลาด หรือ ถูกกังขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษา

กฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติโทษไว้ 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง



แพ่งกับอาญา

ผู้เขียนได้ปฏิบัติการสอน วิชากฎหมายเบื้องต้นมานานพอสมควร เนื้อหาส่วนใหญ่ที่สอนก็จะเป็นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กับประมวลกฎหมายอาญาเป็นหลัก นักเรียนก็จะถามเป็นประจำเช่นเดียวกันว่า แพ่งกับอาญาต่างกันตรงไหน ก็พอจะอธิบายได้ดังนี้นะครับ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นกฎหมายเดียวในประเทศไทยที่เป็นกฎหมายเอกชน กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนในลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่อง บุคคล หนี้ ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย

คดีแพ่ง..เป็นคดีความข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน อาจเกิดจากการทำผิดสัญญาหรือเกิดขึ้นจากการกระทำละเมิด ถ้าตกลงกันได้ก็เป็นไปตามที่ตกลง แต่ถ้าตกลงไม่ได้ก็ต้องฟ้องศาล คดีความส่วนแพ่งนี้ เจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องแต่ประการใด

ยกตัวอย่างเช่น ผิดสัญญาเช่าบ้าน ผิดสัญญากู้เงิน แย่งมรดก เป็นต้น




ประมวลกฎหมายอาญาจัดอยู่ประเภทกฎหมายมหาชน กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนคดีอาญา...คือ คดีที่ผู้ต้องหากระทำผิดหรือฝ่าฝืนข้อห้ามที่กฎหมายกำหนดไว้ พร้อมกำหนดโทษไว้ด้วยเมื่อเป็นความผิดต่อกฎหมายบ้านเมืองเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจฝ่ายรัฐก็มีหน้าที่จับกุมดำเนินการ

ยกตัวอย่างเช่น ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฆ่าคนตาย ฉ้อโกง รับของโจร เป็นต้น